เป็นครั้งแรกของวงการภาพยนต์ไทยฟอร์มยักษ์ระดับประเทศที่ถูกสร้างมากกว่า 3 ภาค (Series) ซึ่งตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้มีทั้งหมด 6 ภาค และใช้เวลามากกว่า 13 ปี ตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงภาคสุดท้ายออกฉาย ภาพยนต์ชุดนี้มีความยิ่งใหญ่ เทียบเท่ากับภาพยนต์ระดับสากล หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทําให้ ดีกว่าภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท" ในทุกด้าน
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีหลายด้านที่เป็นการปฏิวัติ วงการภาพยนตร์ไทย ได้แก่ ด้านเทคนิคในการถ่ายทําและตัดต่อ การใช้ Visual effect, Special effect รวมถึงการทํา Computer Graphic ซึ่งมี Supervisor จากต่างประเทศที่มีผลงานจาก ภาพยนตร์ระดับ โลกของ Hollywood มาร่วมงาน, ด้าน Production มีการนําเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก, เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ใน ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จาก WETA ประเทศนิวซีแลนด์ รวมไปถึง ม้าศึกประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้ ก็เป็นม้านําเข้าจากต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) โดยเป็น ม้าที่ได้รับการฝึกสําหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความสามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาด เหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai
client: สหมงคลฟิล์มฯ
years: 2011, 2015
key focus:
project brief:
หลังจากที่ภาพยนตร์ได้ฉายมาแล้วถึง 3 ภาค ก็เกรงว่าคนดูอาจจะไม่ตื่นเต้น เหมือนกับในช่วงแรกแล้ว เลยต้องการสร้างให้เกิดความแปลกใหม่เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายยังอยากกลับมาดูภาพยนต์ต่อไป ภาค 4 จึงเป็นภาคที่ต้องการการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภาพยนต์
we delivered:
Re-Branding, Visual Branding and Campaign, Visual Identity System, Visual Communication, Branding Logo, Photography, Customize Typography
challenges:
แมดได้เข้ามามีบทบาทและเป็นผู้สร้าง visual branding and campaign ให้กับภาพยนต์ภาคที่ 4 ซึ่งก่อนหน้านี้มีทําออกมาฉายแล้ว 3 ภาค ความแตกต่างในจุดเด่นของแต่ละภาคเป็นสิ่งที่ต้องนํามาสื่อสารให้กับผู้ชม การเล่าเรื่องผ่านสื่อพิมพ์ เช่น โปรเตอร์ บิลบอดท์ (static visual application) เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะการที่ทําให้แฟนภาพยนต์กลุ่มเดิมคงความสนใจและตื่นเต้นสําหรับภาคต่อๆมา และการที่เพิ่ม กลุ่มเป้าหมายใหม่ (target audience) คือกลุ่มวัยรุ่น เราต้องการให้กลุ่มวัยรุ่นให้เข้าถึงภาพยนต์ และประวัติศาสตร์ของไทยด้วย
process:
เราได้กำหนดภาพลักษณ์และ Mood & Tone ของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ชิ้นงานต่างๆ ไว้ว่า
History, War, Thai legend, based on true story, drama, period movie, action, winning, victory, pride
เราทํางานร่วมกันเป็นทีมด้วยความร่วมมือจากทีมงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญใน ด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการ Research / Brainstrom จนออกมาเป็น Sketch Idea และนําไอเดียนั้นไปพัฒนาต่อยอด มีการ Set
ฉากถ่ายภาพในสตูดิโอ เพื่อให้ได้ภาพ ที่มีคุณภาพ แสงและเงาสมจริง หลังจากนั้นจึงนําภาพที่ได้มาสร้างต่อด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกจน ออกมาเป็นชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์
ในกรณีนี้ภาพยนต์ทุกภาคยังคงด้วยนักแสดงกลุ่มเดิม สําหรับภาค 4 เราได้เสนอให้สร้างโปรเตอร์ตัวละครที่มีบทบาทสําคัญในเรื่อง สร้างเอกลักษณ์ให้ตัวละคร ทั้ง emotion และ expression สร้างความน่าสนใจ ช่วยให้ผู้ชมจดจําตัวละครในเรื่องได้มากขึ้น และ เข้าถึงรายละเอียดของหนังได้ง่ายขึ้นและ นี่ก็เป็นวิธีที่
เราได้นําเสนอ Character Posters ในวงการภาพยนตร์ไทยเป็นครั้งแรก
จุดเด่นของเราคือการที่เราสามารถ Customize ทุกอย่างในการทํา visual brand ในครั้งนี้ได้ รวมไปถึงการ Customized Font มาเพื่อหนังเรื่องนี้ เพื่อสะท้อนความรู้สึก ตามเรื่องราวของภาพยนต์ รวมไปถึงการนำ 3D มาเป็นเทคนิคในการทํา Logo ก็ทําให้หนังมีความใหม่และ ทันสมัยเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ซึ่งเทคนิคนี้ก็ถือว่าเป็นครั้งแรกในวงการภาพยนต์ไทยที่นํามาใช้ในการทํา Movie Poster and Trailer
design solution:
เราคิดถึงสิ่งที่ต้องการสื่อสารในส่วนการใช้ภาษา (tagline / copy) ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ความรู้สึกและมุมมองที่มีต่อสงครามในมุมมองของฝั่งผู้รุกราน คือ การแย่งชิง แสวงหาอำนาจ และการทำลายล้าง ในฝั่งผู้ที่ต้องการปกป้องรักษาเอกราช คือ การเสียสละ ความกล้าหาญ เพื่อรักษาแผ่นดินให้คงอยู่สืบไป
การจัดองค์ประกอบ Mode&Tone สีให้มีความใกล้เคียงกัน โดยแบ่งเป็นโทนสว่างของฝั่งไทย และโทนมืดของฝั่งพม่า เพื่อสร้างภาพจำที่มีต่อ Branding ของภาพยนตร์ให้ไปในทิศทางเดียวกันและง่ายต่อการจดจำ และการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ทิศทางของการใช้ภาพถ่ายที่ต้องการนำเสนอคือ การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครออกมาให้มากที่สุด ตามบทบาทของแต่ละคนเช่น ความมุ่งมั่น เข้มแข็งของกษัตริย์ การเตรียมใจแน่วแน่ของนักรบ ความสงบของนักบวช ความกังวลของใจและความเศร้าของสตรี ความไร้เดียงสาของคนวิกลจริต ความอาฆาตมาดร้ายของฝั่งผู้รุกราน และเพิ่มความรู้สึกของความเป็นหนังอิงประวัติศาตร์ด้วยการดึงเอารายละเอียดของเสื้อผ้า เครื่องทรง ชุดเกราะ เครื่องประดับ อาวุธ บรรยากาศ มาช่วยเสริมให้การสื่อสารชัดเจน และสมจริงมากขึ้น
การ Design Logo โดยปรับจากภาคก่อน ๆ ให้มีความรู้สึกเข้มแข็งมากขึ้ นด้วยการเพิ่มความหนาตัวหนังสือ ลดพื้นที่ระหว่างตัวหนังสือ เพิ่ม Texture ความสมบุกสมบัน ให้สมกับการเป็นนักรบโดยยังคงความยิ่งใหญ่ของจอมกษัตริย์และความอ่อนช้อยของความเป็นไทย และ Font ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้เข้ากับการสร้าง Branding ของภาพยนตร์เรื่องนี้มากขึ้นโดยให้มีความรู้สึกของความเป็นภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ และความอันตรายของสงคราม ด้วยการเติมความแหลมตรงส่วนปลายของ Font เพิ่มความกว้างของแต่ละ Font และยังไม่ทิ้งความรู้สึกของความยิ่งใหญ่ คงไว้ซึ่งความเป็นไทย
ทั้งหมดนี้เพื่อสร้าง Systems in design ความสม่ำเสมอ (Consistency) ให้กับ Branding ของภาพยนตร์เรื่องนี้ เราได้ทำ Logo และเลือกการใช้ภาพถ่ายที่เป็นเอกลักษณ์ของชื่อหนังที่ได้ใช้ใน Application ต่าง ๆ เช่น Posters, Film Title, Advertising ในหนังสือพิมพ์, Merchandise and etc.
เบื้องหลังงานที่นำมาเปิดเผยกันตั้งแต่ต้นจนจบ เปิดเผยงานเบื้องหลังตั้งแต่ความเป็นมา ปัญหา การซัพพอร์ท และอีกมากมายให้ได้รู้กันตั้งแต่ต้นจนจบกับงาน ที่เราคัดสรรค์มาแชร์กันแบบละเอียดยิบทุกขั้นทุกตอน บนความสำเร็จ